ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่สถานการณ์โควิด-19 ในบ้านเรามีผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตน้อยกว่าที่ได้คาดไว้เมื่อ 2 เดือนก่อนค่อนข้างมาก
โดยล่าสุดเราอยู่ในอันดับที่ 80 ของโลกในส่วนของผลกระทบต่อประชาชนจากโควิด-19
อย่างไรก็ดี ผมยังไม่อยากให้ท่านผู้อ่านไว้วางใจต่อสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงต่อไป เนื่องจากปัจจัย 3 ประการที่จะกล่าวถึง ดังนี้
กราฟแสดงแนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศหลักของโลก
ที่มา : European Centre for Disease Prevention and Control and the Covid Tracking Project
ปัจจัยแรก ต้องยอมรับว่ามีเสียงเรียกร้องจากประชาชนชาวไทยในหลายภาคส่วนที่ค่อนข้างเดือดร้อนจากการทำมาหากินที่ฝืดเคือง หรือในสายมนุษย์เงินเดือนต้องได้รับผลกระทบจากทั้งลดเงินเดือนหรือถูกเลิกจ้าง โดยส่วนหลักมาจากการที่ชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองไทยได้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะตัวเลขเม็ดเงินค่าใช้จ่ายภาคการท่องเที่ยวบ้านเรานั้นสูงถึงกว่าร้อยละ 10 ของจีดีพีในบ้านเรา
จึงคาดกันว่าอีกไม่นานนับจากนี้ จะมีการคลายล็อกเปิดประเทศในเฟสถัดไป นั่นหมายถึงว่าน่าจะมีการเปิดน่านฟ้าให้สายการบินเชิงพาณิชย์สามารถทำการบินอีกครั้ง แน่นอนว่าทางภาครัฐจะต้องมีมาตรการคุมเข้มในมาตรการดังกล่าว เพื่อไม่ให้ตัวเลขของยอดผู้ติดเชื้อโควิดในบ้านเราพุ่งทะยานสูงขึ้น
ตรงจุดนี้ จากรูปที่ 1 ก็คงต้องบอกว่าน่าจะเป็นงานค่อนข้างยาก เนื่องจากถึง ณ วันนี้ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิดในต่างประเทศ โดยเฉพาะของประเทศหลักๆ อย่างสหรัฐ อังกฤษ บราซิล อินเดีย รัสเซีย และแอฟริกาใต้นั้น เส้นกราฟการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อยังไม่มีทีท่าว่าจะผงกหัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 ประเทศหลัง
ที่สำคัญ จากประสบการณ์การเปิดน่านฟ้าเพื่อรองรับเครื่องบินจากต่างประเทศของบ้านเราในช่วงไข้หวัด Swine Flu เมื่อปี 2009-2010 จะพบว่ามาตรการที่จะทำการคุมเข้มตามสนามบินหลักๆ ของเมืองไทยนั้นถือว่าไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ในการที่จะสกัดผู้ติดเชื้อ Swine Flu ในช่วงนั้นได้ โดยที่โรคระบาดในครั้งนั้น เมืองไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อ 4.7 หมื่นราย มีผู้เสียชีวิต 347 คน สำหรับในส่วนของทั้งโลก มีผู้ติดเชื้อ 60 ล้านรายและเสียชีวิต 1.8 หมื่นคน จะเห็นได้ว่าบ้านเรามีอัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อจาก Swine Flu ค่อนข้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก
ซึ่งแน่นอนว่าการคลายล็อกในเฟสถัดไปของทางการ ก็จะเข้าสู่สถานการณ์เดียวกับสมัย Swine Flu เมื่อกว่า 10 ปีก่อน ต่างกันเพียงแค่ว่าในวันนี้ ประชาชนชาวไทยตื่นตัวในการทำ Social Distancing มากกว่าเยอะ ทว่ามาตรการตรงจุดสนามบินหลัก ก็น่าจะไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าใดนัก เมื่อมาถึงจุดที่คลายล็อกแบบสุดๆ ที่คาดว่าจะเป็นในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้ายของปี
กราฟแสดงสถานการณ์ของSecond Wave โรคระบาดSwine flu ในเมืองไทยและGreat Influenza(1918) ในอังกฤษ
ที่มา: Taubenberger & Morens (2006) และCDC
ปัจจัยที่สอง คือ ธรรมชาติของโรคระบาดระดับโลกหรือ World Pandemic นั้น ทุกครั้งจะมี Second Wave เกิดขึ้นแบบที่น่าจะพูดได้ว่าหลีกเลี่ยงแทบจะไม่ได้ โดยจะเห็นได้ว่าสมัยโรคระบาด Great Spanish Influenza ในปี 1918 ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 50 ล้านราย และผู้ติดเชื้อทั้งหมดราว 500 ล้านรายนั้น จากรูปที่ 2 จะพบว่าผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงของโรคระบาดใน Second Wave
โดยที่โรคระบาด Great Spanish Influenza ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อายุน้อย โดยการเสียชีวิตมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายออกปฏิกิริยาในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสแรงเกินไป จนเซลล์ในปอดเสียหาย โดยหลั่งผ่านสารเคมี Interferon ของภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ออกมาสู้กับไวรัสมากเกินไปจนไปทำลายเซลล์ในปอดจนเสียชีวิต
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากสมัย Swine Flu ปี 2009 ในบ้านเรา ก็พบว่าช่วง Second Wave นั้น มีผู้ติดเชื้อชาวไทย 35,466 ราย (ทั่วโลก 49.2 ล้านราย) ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตชาวไทย 208 ราย (ทั่วโลก 16,713 ราย) หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 90 ของทั้งหมด
ท้ายสุด สำหรับขั้นตอนการผลิตวัคซีนที่คาดว่าครั้งนี้จะยาวนานกว่าโรคระบาดครั้งก่อนๆ นั้น มีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
1.การเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้ในการทดสอบและขอใบอนุญาต ซึ่ง Swine Flu 2009 ไม่ต้องมีขั้นตอนนี้ เนื่องจากใช้ข้อมูลเดิมที่เก็บไว้สมัยเชื้อ H5N1 ส่วนโควิด-19 ต้องการเวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาอยู่หลายเดือน
2.การทดสอบแบบเข้มข้นในคนทุกกลุ่มโดยใช้เวลาราว 6-9 เดือน อย่างไรก็ดี ในส่วนของโควิด-19 นั้น น่าจะใช้เวลานานกว่าครั้งก่อนๆ เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของเชื้อโควิดนั้น เป็นแบบ mRNA ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปร่างหรือ mutate ที่เรียกกันว่า antigen drift ได้รวดเร็วกว่าเชื้อไวรัสอื่นที่มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบ DNA
3.การทำ post-Licensure Clinical ใช้เวลาราว 3-6 เดือน ซึ่งขั้นตอนนี้ Swine Flu 2009 สามารถประหยัดเวลาด้วยการใช้ฐานข้อมูลเก่า ในขณะที่โควิด-19 ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลใหม่แทบจะทั้งหมด เนื่องจากเชื้อไวรัสเป็นสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากเวอร์ชั่นเดิมค่อนข้างมาก
ทำให้โดยภาพรวมแล้ว หากพิจารณาจาก Swine Flu 2009 ที่ใช้เวลาในการพัฒนาวัคซีนประมาณ 9 เดือนจนสำเร็จ ในครั้งนี้น่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 18 เดือนเป็นขั้นต่ำ ทำให้หากพิจารณาจากแนวโน้มในการเปิดน่านฟ้าของบ้านเรา สถานการณ์การติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิดของต่างประเทศในตอนนี้ ประสบการณ์การรับมือโรคระบาดของทางการบ้านเราในสนามบินหลัก ธรรมชาติของ Second Wave ของโรคระบาดระดับโลก และการใช้เวลาในการผลิตวัคซีนโควิด-19
ทำให้ผมมองว่า Second Wave โควิดในบ้านเรา ยังไงก็น่าจะมาถึง...แต่จะมากน้อยแค่ไหน ต้องติดตามดูกันต่อครับ
ดูบทความทั้งหมดของ ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
"มากเกินไป" - Google News
June 05, 2020 at 04:13PM
https://ift.tt/2XZi7Ku
ทำไม Second Wave โควิด ยังไงก็น่าจะมา... | ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ - กรุงเทพธุรกิจ
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
0 Comments:
Post a Comment