Thursday, June 25, 2020

รู้ทัน รับมือ ไอบีเอส “โรคลำไส้แปรปรวน” ป่วนชีวิต - ไทยรัฐ

lihatterang.blogspot.com

แพทย์จะสอบถามอาการจำเพาะโดยใช้คำถามจำเพาะ ซึ่งเป็นเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องมากขึ้น คนไข้อาจได้รับการทดสอบทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่เป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน เช่น การตรวจอุจจาระ การเอกซเรย์ร่วมกับการสวนแบเรี่ยมเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องตรวจลำไส้ เป็นต้น

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะไอบีเอสให้หายขาด การใช้ยาเป็นเพียงการบรรเทาตามอาการเท่านั้น และผู้ที่เป็นไอบีเอสควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน และลดความเครียดร่วมด้วย ได้แก่

1. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้อาการไอบีเอสเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาหารมัน อาหารทอด เช่น มันฝรั่งทอด นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น เนย ไอศกรีม ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์) เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน (เช่น กาแฟ) เครื่องดื่มอัดลม (เช่น โซดา น้ำอัดลม)

2. ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจทำให้อาการไอบีเอสดีขึ้น ได้แก่ อาหารที่ประกอบด้วยไฟเบอร์ เนื่องจากไฟเบอร์อาจลดอาการท้องผูกจากไอบีเอส เนื่องจากทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยไอบีเอสบางรายที่มีระบบประสาทบริเวณลำไส้ไวเกิน อาจมีอาการไม่สบายท้องเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อรับประทานอาหารจำพวกไฟเบอร์ ไฟเบอร์พบได้มากในธัญพืช ถั่ว ผัก และผลไม้ ในผู้ที่เป็นไอบีเอสบางรายแพทย์อาจให้รับประทานไฟเบอร์ชนิดเม็ด หรือไฟเบอร์ชนิดผงสำหรับผสมน้ำ

3. ผู้ที่เป็นไอบีเอส ควรทำรายการอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงด้วยตนเอง โดยคอยสังเกตว่าเมื่อรับประทานอะไรแล้วทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องมากขึ้น และอาการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

4. ควรรับประทานอาหาร โดยแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อ ประมาณ 4-5 มื้อต่อวัน แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ เนื่องจากการรับประทานอาหารปริมาณมากใน 1 มื้อ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตะคริวท้อง ท้องเดิน

5. การใช้ยา แพทย์อาจใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น

ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูก เช่น ไฟเบอร์ชนิดผงสำหรับน้ำรับประทาน

ยาต้านการเกร็งของลำไส้ เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง นิยมเรียกกันว่า antispasmodic agents ยาจะไปออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว ลดการบีบเกร็ง ทำให้ลำไส้ผู้ป่วยกลับมาทำงานปกติ ซึ่งยาแก้ปวดท้องในกลุ่ม antispasmodic แบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 กลุ่ม

     1. ออกฤทธิ์ผ่านกลไก anticholinergic เป็นหลัก เช่น ตัวยา hyoscine, dicyclomine, atropine กลุ่มนี้จะมีข้อเสียเรื่องอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ใจสั่น มึนงง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก

     2. ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ เช่น ตัวยา alverine, pinaverium, mebeverine ซึ่งไม่มีอาการข้างเคียงเหมือนกลุ่มข้างต้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาสูตรผสมระหว่าง antispasmodic ร่วมกับตัวยา simethicone เช่น ยา alverine 60 mg/simethicone 300 mg พบว่าการใช้ยาสูตรผสม ช่วยลดอาการปวดท้อง และท้องอืด ไม่สบายท้อง ได้ในเวลาเดียวกันในผู้ป่วยไอบีเอส และลดปัญหาการต้องรับประทานยาหลายตัว

ยาแก้ซึมเศร้าในขนาดต่ำ อาจใช้ในผู้ป่วยไอบีเอสบางราย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นไอบีเอสรู้สึกสบาย ลดการรับรู้ความรู้สึกจากเส้นประสาทส่วนปลาย เมื่อมีอาการไม่สบายท้อง ปวดท้อง หรือมีอาการต่างๆ จากภาวะไอบีเอส

6. ทำจิตใจให้เบิกบาน และลดความเครียด ทั้งนี้อารมณ์เครียดไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไอบีเอส แต่ผู้ที่เป็นไอบีเอสอาจมีการทำงานของลำไส้ที่มากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเครียด และความเครียดที่เกิดขึ้นทำให้ภาวะอาการที่เป็นอยู่เป็นมากขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นไอบีเอสควรทำให้จิตใจเบิกบาน และลดความเครียด โดยทั่วไปแพทย์จะให้ผู้ป่วยลดความเครียดโดยไม่ใช้ยา เช่น ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด

แหล่งข้อมูล : ศาสตราจารย์ นายแพทย์จุมพล วิลาศรัศมี ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Let's block ads! (Why?)



"มากเกินไป" - Google News
June 26, 2020 at 05:02AM
https://ift.tt/3id5oxc

รู้ทัน รับมือ ไอบีเอส “โรคลำไส้แปรปรวน” ป่วนชีวิต - ไทยรัฐ
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
Share:

0 Comments:

Post a Comment