
สหประชาชาติแสดงความเป็นหว่งว่าการจับปลาทั่วโลกยังคงมีปริมาณมากเกินไปกว่า 30 เปอร์เซนต์ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรการควบคุมอุตสาหกรรมประมงมีความเข้มงวดน้อย
รัฐเตรียม แจกเงินเที่ยว 3,000 บาท คาดเริ่มเดือน ก.ค.
นิวซีแลนด์เตรียมยกเลิกมาตรการคุมโควิด-19 ทั้งหมด
รายงานที่จัดทำขึ้นทุกๆ 2 ปี ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ระบุว่าการแก้ปัญหาการจับปลามากเกินไปจำเป็นต้องใช้หลายมาตรการ รวมถึงความมุ่งมั่นที่เพิ่มขึ้นจากฝ่ายการเมือง และการปรับปรุงวิธีดูแลติดตาม เนื่องจากพบว่าปลามีปริมาณลดลงในพื้นที่ที่ขาดมาตรการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งแม้ว่าประเทศพัฒนาแล้วได้ปรับปรุงวิธีกำกับดูแลอุตสาหกรรรมประมง แต่ประเทศกำลังพัฒนากลับมีสถานการณ์ที่แย่ลง โดยในปี 2017 พบว่าทั่วโลกจับปลามากเกินไป 34.2 เปอร์เซนต์ นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1974 ที่อัตราการจับปลามากเกินไปอยู่ที่ 10 เปอร์เซนต์
โดย FAO ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายชาติมีมาตรการควบคุมการจับปลาที่ไม่เข้มข้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในการบริหารจัดการและความสามารถของรัฐบาล โดยเฉพาะในพื้นที่ประชาชนยากจน ขาดแคนอาหารและเกิดการสู้รบ ซึ่งทำให้การจับปลาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องยากอย่างมาก
นอกจากนี้ในปี 2018 ปริมาณการบริโภคปลาทั่วโลกเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.5 กิโลกกรัมต่อคน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ และเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.1 เปอร์เซนต์ ต่อปี นับตั้งแต่ปี 1691 ถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ
"มากเกินไป" - Google News
June 09, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2Y9DjO0
ยูเอ็นห่วงทั่วโลกจับปลามากเกินไป - pptvhd36.com
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
0 Comments:
Post a Comment