การเลื่อนเปิดเทอม อีกทั้งการให้สถานศึกษามีการปรับการเรียนการสอนเป็นในรูปแบบของการเรียนทางออนไลน์อันเนื่องมาจากมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้เด็กๆ ต้องใช้เวลาไปกับหน้าจอดิจิทัลมากกว่าปกติเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสายตาและสุขภาพตา เพราะแสงสีน้ำเงิน (Blue light) จากอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาของเด็กๆ ทั้งสิ้น และการเล่นอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะนำมาซึ่งปัญหาและผลกระทบต่อเด็ก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ภัยที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ที่ส่งผลต่อสายตาเด็กที่พ่อแม่อาจมองข้าม ประกอบด้วย 1.ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) เกิดจากการจ้องจอมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในตาหดตัวเกือบตลอดเวลาทำให้มีอาการตาล้า จึงเป็นที่มาของการมองเห็นที่พร่ามัวชั่วคราว 2.โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) โดยแสงสีน้ำเงินจากอุปกรณ์ดิจิทัลจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำลายเซลล์ประสาทตา หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
3.โรคสายตาสั้นมาก (pathological myopia) การเพ่งอยู่หน้าจอเป็นระยะเวลานานกว่า 2.5 ชม.ต่อวัน โดยเฉพาะในระยะน้อยกว่า 20 ซม. นานกว่า 45 นาที เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้เร็วและมากขึ้นในเด็ก ไม่เพียงภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติแต่ยังเสียบุคลิกภาพ เพราะต้องหยีตาตลอด กรณีดังกล่าว เอสซีลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สำหรับดวงตาชั้นนำของโลก มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการใส่ใจดูแล เริ่มจากเลือกใช้แว่นตาที่มีเลนส์กรองแสงสีน้ำเงิน เป็นก้าวแรกในการถนอมดวงตาของเด็ก และลดความเสี่ยงจากโอกาสการเกิดปัญหาทางสายตาที่รุนแรงขึ้นในอนาคต
พ่อแม่ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดมากกว่า 19 นิ้ว และเป็นจอที่กันแสงสะท้อน เพราะถ้ามีแสงสะท้อนจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา และที่สำคัญควรปรับสภาพแวดล้อม แสงสว่างโดยรอบให้พอดี เพื่อลดความสว่างของหน้าจอไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป และควรจัดแสงจากภายนอกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ให้แยงตาโดยตรงเพราะจะทำให้ตาล้ามากขึ้น กำหนดระยะห่างระหว่างสายตากับหน้าจอ
ระยะห่างที่พอเหมาะสำหรับอุปกรณ์ดิจิทัลจะทำให้ลูกของคุณไม่ต้องใช้กำลังโฟกัสของตามากเกินไปจนเกิดอาการล้าของตาได้ หากใช้แท็บเล็ต หรือหน้าจอมือถือควรห่างประมาณ 1 ฟุต ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะควรห่างประมาณ 2 ฟุต ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจัดระยะห่างให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพสายตาที่ดีสำหรับลูกๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่เองด้วย ควรปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอดิจิทัลไม่ให้มีขนาดเล็กจนเกินไป ขนาดตัวอักษรที่ทำให้อ่านได้สบายตาในเวลานานๆ จะต้องมีขนาดอย่างน้อย 3 เท่าของขนาดที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้ในระยะนั้น
พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักพักสายตา ด้วยเทคนิค 20-20-20 คือทุก 20 นาทีในการจ้องหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ควรพักสายตา 20 วินาที โดยมองออกไปไกล 20 ฟุต เพื่อช่วยให้ดวงตามีการเปลี่ยนระยะโฟกัสและผ่อนคลาย ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ปกครองอาจให้เด็กๆ ได้พักจากหน้าจอลุกยืดเส้นยืดสายด้วย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกายไปพร้อมกัน
นอกเหนือจากการดูแลปกป้องดวงตาของเด็กๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่ควรพาลูกไปตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะการมองเห็นคือสิ่งสำคัญ เราจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจดวงตา เพราะโรคทางตาหลายโรคที่จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินกว่าจะรักษาให้เป็นปกติได้.
"มากเกินไป" - Google News
June 08, 2020 at 12:04AM
https://ift.tt/379CvN7
ใส่ใจสุขภาพตาเด็กยุคดิจิทัล - ไทยโพสต์
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
0 Comments:
Post a Comment