5 กลุ่มอาหารไตรกลีเซอไรด์สูง ตัวการทำไขมันในเลือดพุ่ง
วันที่ 21 มิ.ย. 2563 เวลา 06:10 น.
สำรวจอาหารจานโปรดที่มีไตรกลีเซอไรด์สูง ภัยร้ายที่ซ่อนมากับความอร่อย และสาเหตุอื่นที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น
ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดขึ้นได้ทั้งจากการรับประทานไขมันจากอาหารเข้าไปโดยตรง และเกิดจากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เอง จากน้ำตาล ข้าว-แป้ง และแอลกอฮอล์ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัวกับโปรตีน และนำไปใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน บางส่วนถูกสะสมในตับ
ปัจจัยด้สนพฤติกรรมที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันปริมาณมาก
- การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการจึงนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในปริมาณมาก
- มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต
- ขาดการออกกำลังกาย
สาเหตุอื่นที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติมาก บางคนอาจจะสูงถึง 800-1,000 มก./ดล. ซึ่งในคนปกติมีไตรกลีเซอไรด์ไม่เกิน 150 มก./ดล. เท่านั้น
- ยารักษาโรค การทานยารักษาโรคบางชนิดก็ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาปรับฮอร์โมนเพศหญิง ยาขับปัสสาวะ เมื่อหยุดทานยาเหล่านี้ ระดับไตรกลีเซอไรด์อาจจะลดลงมาเป็นปกติได้
อาหารชนิดใดบ้างที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงๆ จนไม่ควรทาน
1. อาหารที่มีแป้งมาก ได้แก่ ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งการทานอาหารในกลุ่มนี้ก็เหมือนกับการทานน้ำตาล เพราะเมื่อย่อยแล้วแป้งจะถูกแปรรูปไปเป็นน้ำตาล หากทานมากเกินไปก็จะไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากต้องการทานคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพ แนะนำคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง เป็นต้น
2. อาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เช่น ขนมไทยต่างๆ อย่าง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ผลไม้เชื่อม รวมไปถึงเครื่องดื่มสำเร็จรูปทั้งแบบผงและแบบซอง เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้กล่อง นมกล่อง นมเปรี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น เครื่องดื่มบางขวดมีขนาดขวดที่เล็กมากแต่กลับมีน้ำตาลมากถึง 3-4 ช้อนชาเลยทีเดียว กินแค่ขวดสองขวดก็ได้น้ำตาลเกินกว่าที่ต้องการต่อวันแล้ว
3. อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ย่อยยากและไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารที่มีไขมันทรานส์อยู่มากส่วนใหญ่จะเป็นอาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารที่อยู่ในกลุ่มเบเกอรี่ เช่น โดนัท เค้ก คุกกี้ เป็นต้น
4. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ขาหมูทอด อาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู อาหารทอดๆ เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก แมลงทอด โรตี เป็นต้น
5. แอลกอฮอล์และบุหรี่ สองอย่างนี้ถึงแม้ไม่ใช่อาหารแต่จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายสูงได้เช่นกัน กลไกการสร้างไตรกลีเซอไรด์ เมื่อดื่มแอลฮอล์หรือสูบบุหรี่ ตับจะถูกกระตุ้นให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์มากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้ไขมันถูกกำจัดออกจากเลือดได้ช้าลงอีกด้วย
กลไกการสร้างไตรกลีเซอไรด์
จากอาหารที่กล่าวถึงด้านบน อาหารบางอย่างไม่ได้มีไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนประกอบ แต่ที่ร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการกินอาหารที่ไม่สมดุล ไม่ถูกสัดส่วน จนทำให้ได้รับพลังงานและแคลอรี่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้หมด ร่างกายมีการสร้างและย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์อย่างผิดปกติ ไตรกลีเซอไรด์จะถูกขับเข้ากระแสเลือดมากขึ้น
"มากเกินไป" - Google News
June 21, 2020 at 06:12AM
https://ift.tt/3fHe4cR
5 กลุ่มอาหารไตรกลีเซอไรด์สูง ตัวการทำไขมันในเลือดพุ่ง - โพสต์ทูเดย์
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
0 Comments:
Post a Comment