"โซเชียลมีเดีย" ช่องทางการสื่อสารและแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ อย่างเช่นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะเกิดขึ้นช่วง พ.ย.63 ทำให้ขณะนี้สื่อโซเชียลกลายเป็นสมรภูมิการเมือง ที่ผู้คนสาดข้อมูลเข้ามาจำนวนมาก ด้านแพลตฟอร์มจึงต้องหาวิธีรับมือข่าวลวงต่างๆ
ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางให้ผู้คนเปิดรับข่าวสาร แล้วสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับได้ทันที เมื่อความนิยมในสื่อชนิดนี้มีสูงทุกคนต่างวิ่งเข้าสู่แพลตฟอร์มนี้ โดยเฉพาะช่วงที่มีการเลือกตั้งจนบางครั้งเกิดอาการรับข่าวสารการเมืองมากเกินไป
ศูนย์วิจัยพิว สำรวจความคิดเห็นจากผู้ใหญ่ในสหรัฐระหว่างวันที่ 13-19 ก.ค. พบว่า อีก 2 เดือนเศษสหรัฐจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายคนกำลังหมดแรงไปตามๆ กัน จากเนื้อหาการเมืองที่มีมากมาย
สัดส่วนคนที่เหนื่อยหน่ายเพราะเห็นโพสต์แนวคิดทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกพรรครีพับลิกัน
ผู้ใช้วัยผู้ใหญ่ราว 55% กล่าวว่า รู้สึกหมดแรงเมื่อเห็นโพสต์และการถกเถียงเรื่องการเมืองจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย
ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 18% จากที่เคยสอบถามครั้งแรกเมื่อฤดูร้อนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2559 และปีก่อนตัวเลขอยู่ที่ 9% เท่านั้น
ขณะเดียวกันเมื่อผู้ใช้เห็นโพสต์การเมืองก็ลังเลน้อยลงกว่าแต่ก่อน ปัจจุบันผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 29% เผยว่า ไม่รู้สึกตัดสินใจไม่ถูกแล้วเมื่อเห็นการพูดคุยเรื่องการเมืองแบบตรงข้าม ตัวเลขลดลงจากราว 40% ในปี 2559 และ 2562 ในการสำรวจทุกครั้งรวมทั้งครั้งล่าสุด คนที่บอกว่าอยากให้มีการโพสต์เรื่องการเมืองมากๆ บนโซเชียลมีเดีย คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อย ราว 15%-20%
ในเมื่อปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกตั้งสหรัฐ แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊คและกูเกิลของอัลฟาเบตอิงค์จึงถูกแรงกดดันหนักตั้งแต่ปีก่อน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในสหรัฐมีกฎหมายการสื่อสารป้องกันไม่ให้สถานีโทรทัศน์ที่รับเงินค่าโฆษณาจากผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งของรัฐบาลกลางมาแล้ว และให้ปฏิเสธหรือเซ็นเซอร์โฆษณาจากผู้สมัครเหล่านั้น แต่กฎหมายนี้ไม่รวมสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวีอย่างซีเอ็นเอ็น และโซเชียลมีเดียที่ผู้สมัครชั้นนำต่างทุ่มงบประมาณหลายล้าน พุ่งเป้าไปที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะใช้สิทธิกันในเดือน พ.ย.
โซเชียลมีเดียเองก็ต้องมีวิธีรับมือกับข่าวลวงและข้ออ้างผิดๆ ในโฆษณาทางการเมืองด้วย ตามที่รอยเตอร์รวบรวมไว้ดังนี้
- เฟซบุ๊ค
เฟซบุ๊คมีโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริงจากภาคีฝ่ายที่ 3 แต่ยกเว้นให้นักการเมืองลงโฆษณาด้วยคำอ้างผิดๆ ได้ นโยบายนี้ถูกคณะกรรมการกำกับดูแลและสมาชิกสภาคองเกรสโจมตีว่า อาจเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน เป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารเฟซบุ๊ค ปกป้องท่าทีของบริษัทว่าไม่อยากจำกัดถ้อยแถลงทางการเมือง แต่บริษัทกำลังพิจารณาปรับนโยบายให้ดีขึ้นด้วย
เฟซบุ๊คทำเนื้อหาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากกลุ่มการเมือง และตรวจสอบข้อเท็จจริงจากนักการเมืองที่เคยแชร์ข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง และไม่อนุญาตให้เนื้อหานี้ปรากฏในโฆษณา
ก่อนหน้านั้นไม่นานเฟซบุ๊คประกาศว่า ได้เปลี่ยนแนวทางโฆษณาทางการเมืองบางประการ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ใช้ปิดเครื่องมือโฆษณาแบบกำหนดเป้าหมายบางตัว นอกจากนี้ยังเปิดเผยข้อมูลผู้ชมโฆษณาได้มากขึ้นด้วย
การขยายฟีเจอร์ข้อมูลผู้ชมโฆษณาใช้งานเมื่อไตรมาส 1 พร้อมกันนั้นเฟซบุ๊คมีแผนเริ่มควบคุมโฆษณาทางการเมืองในสหรัฐในฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.) แล้วค่อยๆ ขยายไปยังที่อื่นๆ
ไม่เพียงเท่านั้นเฟซบุ๊คยังเปิดให้ผู้ใช้เลือกปิดการมองเห็นโฆษณาพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ลงโฆษณากำหนดไว้ แล้วขยายไปถึงโฆษณาทุกประเภทไม่เฉพาะแค่ทางการเมือง
- ทวิตเตอร์
ทวิตเตอร์อิงค์ห้ามโฆษณาทางการเมืองตั้งแต่เดือน พ.ย.2562 รวมถึงโฆษณาที่อ้างถึงผู้สมัคร พรรคการเมือง การเลือกตั้ง หรือกฎหมาย ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาเพื่อหวังผลสำหรับกลุ่มการเมืองหรือสังคมกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ
“เราเชื่อว่าการเข้าถึงสารทางการเมืองควรเป็นความพยายาม ไม่ใช่ใช้เงินซื้อ” แจ็ค ดอร์ซีย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ทวิตเตอร์แถลง สมาชิกสภาคองเกรสหลายคนชมเชยการตัดสินใจของทวิตเตอร์ แต่นักวิจารณ์มองว่า ทวิตเตอร์ทำแบบนี้คนที่ได้ประโยชน์คือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งอยู่แล้ว ส่วนผู้สมัครที่ไม่เป็นที่รู้จักเท่าเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เจ้าหน้าที่จากทีมหาเสียงของทรัมป์ ที่ทุ่มซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊คและกูเกิลหนักกว่าพรรคเดโมแครต เรียกคำสั่งห้ามนี้ว่า “โง่เง่า” และว่าส่งผลเล็กน้อยต่อยุทธศาสตร์หาเสียงของทรัมป์
เน็ด ซีกัล ประธานคณะเจ้าหน้าท่ี่การเงิน (ซีเอฟโอ) ทวิตเตอร์ กล่าวว่า ตอนเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในปี 2561 โฆษณาทางการเมืองทั้งหมดบนทวิตเตอร์เป็นเงินไม่ถึง 3 ล้านดอลลาร์
สตีฟ พาสเวเตอร์ รองประธานกลุ่มวิเคราะห์สื่อหาเสียง บริษัทคันตาร์มีเดีย กล่าวว่า เมื่อมองในมุมการโฆษณาทวิตเตอร์ไม่ถือว่าเป็นผู้เล่น เฟซบุ๊คและกูเกิลเป็นขาใหญ่ในเรื่องโฆษณาทางการเมือง
- กูเกิล
กูเกิลกล่าวว่า จะจำกัดกลุ่มผู้ชมโฆษณาการเลือกตั้ง พิจารณาจากอายุ เพศ และสถานที่ตามรหัสไปรษณีย์ การเปลี่ยนแปลงนี้เท่ากับว่าคนที่ลงโฆษณาทางการเมืองไม่สามารถจับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลจำพวก ประวัติการลงคะแนนและความนิยมทางการเมือง เช่น เอียงขวา เอียงซ้าย หรืออิสระได้อีกต่อไป แต่ผู้ลงโฆษณาอาจกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามบริบทได้ เช่น แสดงโฆษณากับกลุ่มผู้ชมวีดิโอบางตัว
กูเกิลและยูทูบ ห้ามการนำเสนอผิดๆ ในโฆษณา เช่น ข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับกระบวนการลงคะแนน อายุหรือสถานที่เกิดของผู้สมัคร หรือข้ออ้างผิดๆ ว่า บุคคลสาธารณะเสียชีวิตแล้ว
อย่างไรก็ตาม กูเกิลไม่ได้ห้ามโฆษณาของนักการเมืองที่อ้างผิดๆ ไปเสียทั้งหมด เดือน ต.ค.2562 ทีมหาเสียงของโจ ไบเดน ขอให้กูเกิลลบโฆษณาของทรัมป์ที่มีเนื้อหาผิด แต่โฆษกกูเกิลบอกกับรอยเตอร์ว่าโฆษณาชิ้นนั้นไม่ได้ละเมิดนโยบายบริษัท
- ติ๊กต็อก
แอพวิดีโอของจีนที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่นอเมริกัน ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาทางการเมืองบนแพลตฟอร์ม
ติ๊กต็อกแถลงเมื่อเดือน ต.ค.2562 ว่า บริษัทต้องการมั่นใจว่าติ๊กต็อกสร้างอารมณ์ขำขันล้อเลียนได้ต่อไป
เบลค แชนด์ลี รองประธานฝ่ายธุรกิจโลกของติ๊กต็อก เขียนในบล็อก ระบุ “ธรรมชาติของโฆษณาทางการเมืองไม่น่าจะเหมาะกับประสบการณ์การใช้ติ๊กต็อก”
ติ๊กต็อกเป็นของไบต์แดนซ์ บริษัทเทคโนโลยีจีนรายใหญ่มีฐานปฏิบัติการในกรุงปักกิ่ง ถูกสหรัฐเล่นงานอย่างหนักอ้างว่า ห่วงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ในสหรัฐ
- ลิงค์อิน
ลิงค์อินของไมโครซอฟท์ ไม่อนุญาตให้มีโฆษณาทางการเมือง โดยนิยามโฆษณาทางการเมืองไว้ เช่น “โฆษณาที่ทุ่มเทหรือต่อต้านเฉพาะเจาะจงผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้ง หรือตั้งใจสร้างอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้ง”
เสิร์ชเอนจิ้นอย่างบิง ซึ่งเป็นของไมโครซอฟท์เหมือนกัน ไม่อนุญาตให้ลงโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือการเลือกตั้ง
"มากเกินไป" - Google News
August 31, 2020 at 01:00AM
https://ift.tt/34MDmEv
'โซเชียลมีเดีย' สมรภูมิเดือดการเมืองใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ
"มากเกินไป" - Google News
https://ift.tt/3ctwdZD
0 Comments:
Post a Comment